วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กทฤษฎีของลูนินเบิร์

วลาดีมีร์ เลนิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วลาดิมีร์ เลนิน
Владимир Ильич Ленин
วลาดิมีร์ เลนิน ในปี 1917
ประธานสภาประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
30 ธันวาคม 1922 – 21 มกราคม 1924
สมัยถัดไปอเล็กเซ ริกอฟ
ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน 1903 – 21 มกราคม 1924
สมัยถัดไปโจเซฟ สตาลิน (เลขาธิการทั่วไป)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 เมษายน ค.ศ. 1870
ซิมเบิร์ก
จักรวรรดิรัสเซีย รัสเซีย
เสียชีวิต21 มกราคม ค.ศ. 1924 (45 ปี)
เมืองโกรี สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
ลายมือชื่อ
วลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดิมีร์ อิลลิช เลนิน (Vladimir Ilyich Lenin, Владимир Ильич Ленин) (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2413 - 21 มกราคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1924)) ผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2465 หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรกและเป็นเจ้าของแนวคิดส่วนใหญ่ในลัทธิเลนิน
ชื่อ “เลนิน” นั้นเป็นหนึ่งในนามแฝงที่ใช้ในการปฏิวัติ เดิมมีชื่อสกุลว่าอูเลียนอฟ (Ulyanov) ได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคาซาน และเซนปีเตอร์สเบิร์ก เลนินถูกจำคุกระหว่าง พ.ศ. 2438-2440 และในปีต่อมาถูกเนรเทศไปไซบีเรียจนถึง พ.ศ. 2443 เนื่องจากเข้าขบวนการปฏิวัติใต้ดิน หลังการปฏิวัติเลนินได้เป็นหัวหน้าพรรค “บอลเชวิค” (Bolshevik) ที่ทำการปฏิวัติล้มล้างระบบกษัตริย์ของรัสเซียในปี พ.ศ. 2460 และตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและรีบทำการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อทุ่มกำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านในสงครามกลางเมืองของรัสเซียที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2461-2464
เลนินมีความเชื่อมั่นในระบอบสังคมนิยม จึงรวบอำนาจมารวมไว้ในพรรคคอมมิวนิสต์และเริ่มปรับเปลี่ยนระบบควบคุมจากส่วนกลางที่เข้มงวดและเหี้ยมโหดของพวกบอลเชวิก มาทุ่มเทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแนวใหม่ที่เรียกว่า “นโยบายเศรษฐกิจแนวใหม่” (New Economic Policy) อย่างเต็มที่เพื่อล้มระบบทุนนิยม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และการต่อต้านจากกลุ่มหัวรุนแรงเดิมว่าเป็นการอ่อนข้อให้ระบบทุนนิยมและหนีห่างจากระบบสังคมนิยมมากเกินไป
ก่อนเสียชีวิต เลนินป่วยหนักมีอาการชักและมีโลหิตออกในสมอง ศพของเลนินได้รับการอาบน้ำยาตั้งไว้ให้ประชาชนเคารพในสุสานที่จตุรัสหน้าวังเครมลินจนถึงปัจจุบัน นับว่าเลนินเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตที่ยังมีคนนับถือ พรรคคอมมิวนิสต์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองสำคัญคือนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มาเป็นเมืองเลนินกราดเมื่อ พ.ศ. 2467 เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา แต่ได้กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อจากเลนิน คือ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตเข้าสู่ยุคม่านเหล็กที่ลึกลับที่ปิดประเทศจากโลกเสรี มีการปกครองที่เด็ดขาดและโหดเหี้ยมขัดกับเจตจำนงเดิมของเลนินอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหภาพโซเวียตสลายได้โดยง่ายเมื่อปี พ.ศ. 2534

ชีวิตวัยเด็ก[แก้]

วลาดิมีร์ อุลยานอฟ (เลนิน) ราว พ.ศ. 2430
เลนินเกิดในเมืองเซมเบิร์ซก์ของรัสเซีย เป็นบุตรชายของ อิลยา นิโคเลวิช อุลยานอฟ(พ.ศ. 2374 - พ.ศ. 2429) ข้าราชการรัสเซียผู้ที่ทำงานเพื่อประชาธิปไตยและโอกาสการศึกษาที่ทั่วถึงในรัสเซีย และมารดาของเลนินคือ มาเรีย อเล็กซานดรอฟนา บลังก์ ผู้ที่มีหัวเสรีนิยม เลนินมีเชื้อสายคาลมิก (รัฐริมทะเลสาบแคสเปียน) ผ่านทางบิดา และมีเชื้อสายชาวเยอรมนีที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโวลกาผ่านทางยาย (ยายของเลนินนับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน) และเชื้อสายยิวผ่านทางตา (ตาของเลนินภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์) ส่วนตัวเลนินเองได้รับพิธีล้างบาปในนิกายรัสเซียนออร์ธอดอกซ์
วลาดิมีร์ทำให้ตัวเองแตกต่างกับคนอื่นด้วยการศึกษาภาษาละตินและกรีก ชีวิตวัยเด็กของเขามีเหตุการณ์น่าเศร้า 2 อย่าง คือ ในปี พ.ศ. 2429 พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยโรคเลือดออกในสมอง และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2430 พี่ชายของเขา อเล็กซานเดอร์ อุลยานอฟ ถูกแขวนคอในข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบปลงพระชนม์ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เหตุการณ์หลังนี้ทำให้วลาดิมีร์เริ่มมีความคิดอย่าง ถึงราก (Radical) (ผู้เขียนประวัติของเลนินได้เขียนว่าเหตุการณ์นี้เป็นศูนย์รวมของความกล้าหาญในการปฏิวัติของเลนิน) ต่อมาในปีนั้น วลาดิมีร์ก็ถูกจับกุมและไล่ออกจากมหาวิทยาลัยคาซานด้วยข้อหาที่ว่าวลาดิมีร์เข้าร่วมในการประท้วงของนักศึกษา เขาได้ศึกษาต่อด้วยตัวเองและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบอาชีพทางกฎหมายได้ในปี พ.ศ. 2434

การปฏิวัติ[แก้]

แทนที่วลาดิมีร์จะประกอบอาชีพทางกฎหมาย วลาดิมีร์กลับมีส่วนรวมในความพยายามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการปฏิวัติ และการศึกษาลัทธิมาร์กซมากขึ้นเรื่อย ๆ วลาดิมีร์ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเขาในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นส่วนมาก ต่อมา ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2438 วลาดิมีร์ก็ถูกจับกุมและคุมขังเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นก็ถูกเนรเทศไปที่หมู่บ้านชูเชนสโกเยในไซบีเรียดังกล่าวมาแล้ว
ในเดือนกรกฎาคม [พ.ศ. 2441] วลาดิมีร์แต่งงานกับ นาเดชด้า ครุปสกายา ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวสังคมนิยม ต่อมาในเดือนเมษายนค.ศ. 2442 เขาได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า พัฒนาการของระบบทุนนิยมในรัสเซีย ต่อมาในปี [พ.ศ. 2442] การเนรเทศของเขาก็ได้สิ้นสุดลง วลาดิมีร์ได้เดินทางทั้งภายในรัสเซียและไปยังส่วนต่าง ๆ ของยุโรป และได้พิมพ์หนังสือพิมพ์อิสกรา เช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์และหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ
เลนินขณะปราศรัย
เขาได้ร่วมกิจกรรมของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยของรัสเซีย และในปี พ.ศ. 2446 เขาได้เป็นผู้นำฝ่ายบอลเชวิคภายในพรรค ภายหลังจากที่แตกแยกกับกลุ่มเมนเชวิกที่ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากงานของเลนินชื่อว่า จะทำอะไรในอนาคต (What is to be done?) ในปี พ.ศ. 2449 เลนินได้รับเลือกเข้าไปในคณะกรรมการบริหารพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยของรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2450 เขาได้ย้ายไปอยู่ที่ฟินแลนด์ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เขาได้ท่องเที่ยวไปในยุโรปต่อและร่วมในการประชุมและกิจกรรมของพวกสังคมนิยมในหลายๆแห่ง รวมถึงการประชุมซิมเมอร์วัลด์ในปี พ.ศ. 2458 ด้วย เมื่อ อิเนสซ่า อาร์วัลด์ ออกมาจากรัสเซียแล้วตั้งถิ่นฐานในปารีส เธอก็ได้พบกับเลนิน และสมาชิกบอลเชวิกคนอื่น ๆ ที่ถูกเนรเทศมา ในที่สุดเธอก็ได้กลายเป็นสหายของเลนิน
ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2460 เขาได้ออกจากสวิตเซอร์แลนด์กลับไปยังเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (เปโตรกราด) ในรัสเซียหลังจากที่ซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกโค่นล้ม และมีบทบาทสำคัญในขบวนการบอลเชวิก เขาได้พิมพ์เมษาวิจารณ์ (April Theses) ต่อมาหลังจากความล้มเหลวในการประท้วงของคนงาน เลนินได้หนีไปยังฟินแลนด์เพื่อความปลอดภัย เขากลับมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน และได้ปลุกระดมทหารให้ลุกขึ้นปฏิวัติโดยมีคำขวัญว่า “อำนาจทั้งหมดเพื่อโซเวียตทั้งหลาย” (คำว่า โซเวียต แปลว่า สภา) เพื่อต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวที่นำโดย อเล็กซานดร์ เคเรนสกี้ ความคิดของเลนินเกี่ยวกับรัฐบาลนั้นเขียนอยู่ในบทความเรื่อง “รัฐและการปฏิวัติ” ซึ่งเรียกร้องให้มีระบบการปกครองใหม่ที่มีรากฐานมากจากสภาของคนงาน หรือโซเวียต

ประมุขของรัฐโซเวียต[แก้]

เลนินในสำนักงานที่เครมลิน พ.ศ. 2461
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เลนินได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาที่ปรึกษาประชาชน (ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา) โดยสภาคองเกรสโซเวียตในรัสเซีย ในขณะนั้น เลนินต้องเผชิญกับการโจมตีของเยอรมนี เลนินต้องการให้รัสเซียลงนามในสัญญาสันติภาพทันที ผู้นำบอลเชวิกคนอื่นๆ ต้องการให้ทำสงครามกับเยอรมนีต่อไปเพื่อเป็นการกระตุ้นการปฏิวัติในเยอรมนี ส่วนลีออน ทรอตสกี้ ที่เป็นประธานในการเจรจานั้นรักษาสถานะเป็นกลางระหว่างสองฝ่าย คือ เรียกร้องสันติภาพ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียดินแดนเพิ่ม หลังจากที่การเจรจาล้มเหลว เยอรมนีก็ได้โจมตีและยึดครองดินแดนฝั่งตะวันตกของรัสเซียไปมาก ซึ่งส่งผลให้ข้อเสนอของเลนินได้รับการสนับสนุนการเสียงส่วนมากของผู้นำพรรคบอลเชวิก และในที่สุดรัสเซียก็ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสก์ ซึ่งรัสเซียเสียเปรียบอย่างมาก ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2461
เมื่อเลนินยอมรับว่าระบบโซเวียตเป็นระบบเดียวเท่านั้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย เลนินจึงได้ปิดสภาร่างรัฐธรรมนูญรัสเซียลงเพราะว่าพรรคบอลเชวิกไม่ได้เสียงข้างมากในสภานั้น แต่พรรคที่ได้เสียงข้างมากคือพรรคปฏิวัติสังคมนิยมที่ต่อมาภายหลังแตกออกเป็นฝ่ายซ้ายที่นิยมระบบโซเวียต และฝ่ายขวาที่ต่อต้านระบบโซเวียต ส่วนพรรคบอลเชวิกนั้นมีเสียงข้างมากในสภาคองเกรสโซเวียต และได้จัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับฝ่ายซ้ายของพรรคปฏิวัติสังคมนิยม อย่างไรก็ตาม การร่วมมือครั้งนี้ก็ได้ล้มเหลวลงหลังจากพรรคปฏิวัติสังคมนิยมต่อต้านสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสก์ และได้ไปเข้าร่วมกับพรรคอื่นเพื่อล้มรัฐบาลโซเวียต สถานการณ์ได้เลวร้ายลง เมื่อพรรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่พรรคบอลเชวิก (รวมถึงกลุ่มสังคมนิยมหลายกลุ่ม) ได้พยายามล้มรัฐบาลโซเวียต เลนินได้ตอบโต้ด้วยการพยายามยุบพรรคเหล่านั้น แต่ไม่สำเร็จ
ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2461 ฟันย่า คัปลัน สมาชิกพรรคปฏิวัติสังคมนิยม ได้เข้าใกล้เลนินหลังจากที่เลนินได้กล่าวปราศรัยในการประชุมพบปะ และกำลังเดินกลับรถ เธอได้ร้องเรียกเลนิน เมื่อเลนินหันกลับมาเพื่อจะตอบ เธอก็ได้นำปืนยิงเลนินไป 3 นัด 2 นัดทะลุเข้าที่ปอดและไหล่ของเลนิน เลนินถูกพากลับไปยังเครมลิน เพราะว่าเขาปฏิเสธที่จะไปโรงพยาบาลเนื่องจากเชื่อว่าน่าจะมีคนดักรอทำร้ายอยู่ที่โรงพยาบาลแน่ แพทย์ได้ถูกเรียกมาดูอาการของเลนิน แต่ได้ลงความเห็นว่าเป็นการเสี่ยงอันตรายเกินไปที่จะถอนลูกกระสุนออกมา ต่อมาไม่นานเลนินก็เริ่มฟื้นตัว แต่สุขภาพของเขาก็เริ่มย่ำแย่ลง และเชื่อกันว่าจากเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นสาเหตุของการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองของเลนินในเวลาต่อมา
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2462 เลนินและผู้นำพรรคบอลเชวิกคนอื่น ๆ ได้พบกับกลุ่มปฏิวัติสังคมนิยมจากทั่วโลก และได้ร่วมกันก่อตั้งคอมมิวนิสต์นานาชาติ (คอมินเทิร์น) ในครั้งนี้ สมาชิกของคอมินเทิร์น รวมถึงพรรคบอลเชวิกเอง ได้แยกตัวออกจากขบวนการสังคมนิยม ต่อไปพวกเขาจะเป็นที่รู้จักกันว่า "คอมมิวนิสต์" ในรัสเซียเอง พรรคบอลเชวิกก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย ซึ่งต่อมาภายหลังจะกลายเป็น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (CPSU)
ในขณะเดียวกัน สงครามกลางเมืองก็ได้แผ่ขยายลุกลามออกไปทั่วรัสเซีย การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายชนิดและผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเหล่านั้นได้จับอาวุธขึ้นสู้เพื่อโค่นล้มรัฐบาลโซเวียต แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายที่เข้าร่วมสงครามกลางเมือง แต่มีฝ่ายหลัก ๆ เพียงสองฝ่ายคือ ผ่ายกองทัพแดง (คอมมิวนิสต์) และฝ่ายกองทัพขาว (นิยมกษัตริย์) มหาอำนาจต่างชาติได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นก็ได้แทรกแซงสงครามนี้ (โดยเป็นฝ่ายสนับสนุนกองทัพขาว) แต่ในที่สุด ฝ่ายกองทัพแดงก็มีชัยในสงคราม โดยเอาชนะกองทัพขาวและพันธมิตรได้ในปี พ.ศ. 2463 (แม้ว่ากองกำลังต่อต้านขนาดย่อม ๆ ยังคงเหลืออยู่ต่อมาอีกหลายปี)
ในไม่กี่เดือนสุดท้ายของปี พ.ศ. 2462 ความสำเร็จของกองทัพแดงเหนือกองทัพขาวได้ทำให้เลนินมั่นใจว่าถึงเวลาแล้วที่จะขยายวงการปฏิวัติไปสู่โลกตะวันตก โดยการใช้กำลังหากจำเป็น เมื่อสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ที่เพิ่งเป็นอิสระได้ใหม่ๆ เริ่มต้นที่จะป้องกันพรมแดนทางตะวันออกที่ติดกับรัสเซีย ที่แต่เดิมเป็นของรัสเซียมาตั้งแต่การแบ่งโปแลนด์ในศตวรรษที่ 18 ก็เกิดการปะทะกับฝ่ายรัสเซียเพื่อยึดครองดินแดนส่วนนี้ ทำให้เกิดสงครามโซเวียต-โปแลนด์ขึ้นในปี พ.ศ. 2462 ระหว่างนั้นก็มีการปฏิวัติในเยอรมนีและสันนิบาตสปาร์ตาซิสต์กำลังเจริญเติบโต เลนินก็มองว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะ “แทงยุโรปด้วยดาบปลายปืนของกองทัพแดง” โดยเลนินเห็นโปแลนด์เป็นสะพานที่จำเป็นต้องข้ามเพื่อเชื่อมต่อการปฏิวัติในโซเวียตกับผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ในการปฏิวัติในเยอรมนี และเพื่อเป็นการช่วยเหลือขบวนการคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้ของโซเวียตรัสเซียในสงครามกับโปแลนด์ ได้ทำให้แผนนี้ถูกล้มเลิกไป
สงครามอันยาวนานในรัสเซียได้ทำลายรัสเซียให้เหลือแต่ซากเป็นวงกว้าง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 เลนินได้แทนที่นโยบายคอมมิวนิสต์ด้วยสงคราม (ที่ถูกใช้ในช่วงสงครามกลางเมือง) ด้วยนโยบายเศรษฐกิจใหม่ เพื่อที่จะพยายามฟื้นฟูอุตสาหกรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกษตร แต่ในเดือนเดียวกัน ก็มีการปราบปรามการลุกฮือขึ้นของกะลาสีที่เมืองครอนสตัดท์ (เรียกว่า การกบฏที่ครอนสตัดท์)

การเสียชีวิตของเลนิน[แก้]

สุขภาพของเลนินนั้นได้เสียหายอย่างรุนแรง เนื่องจากความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปฏิวัติและสงคราม ความพยายามที่จะสังหารเลนินเมื่อก่อนหน้า ก็ยังช่วยซ้ำเติมปัญหาสุขภาพของเลนิน ลูกกระสุนในคราวนั้นก็ยังฝังอยู่ที่คอของเลนินบริเวณที่ใกล้เส้นประสาทมาก เกินกว่าเทคโนโลยีในสมัยนั้นจะช่วยผ่าตัดออกได้โดยไม่กระทบเส้นประสาท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2465 เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเป็นครั้งแรก เขากลายเป็นอัมพาตที่บางส่วนในซีกขวาของร่างกาย ทำให้เลนินมีบทบาทน้อยลงในรัฐบาล หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่สองในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน เลนินก็ได้วางมือจากกิจกรรมทางการเมืองทุกชนิด ในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2466 เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่สาม ทำให้เขาต้องนอนอยู่กับเตียงและไม่สามารถพูดได้
เลนินเสียชีวิตในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2467 ข่าวลือที่ว่าเลนินเสียชีวิตด้วยโรคซิฟิลิสนั้นแพร่กระจายไปไม่นานหลังจากที่เขาตาย แต่สาเหตุการเสียชีวิตของเลนินอย่างเป็นทางการคือ เลนินเสียชีวิตจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่ 4 แต่ว่านายแพทย์ประจำตัวของเลนิน 8 คนจาก 27 คนเท่านั้น ที่ลงนามในผลสรุปการชันสูตรศพ ดังนั้น ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเสียชีวิตของเลนินก็ยังมีการนำเสนออยู่เรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น การวินิจฉัยหลังการเสียชีวิตโดยจิตแพทย์ 2 คนและนักประสาทวิทยา 1 คน ที่มีรายงานลงตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยาของยุโรป อ้างว่าเลนินเสียชีวิตจากโรคซิฟิลิส
ในปี พ.ศ. 2466 เลนินได้รับการรักษาจากแพทย์ด้วยตัวยาซัลวาซาน ที่เป็นตัวยาเดียวในสมัยนั้นที่ใช้รักษาโรคซิฟิลิส และตัวยาโพแตสเซียมไอโอดีน ที่เป็นวิธีปฏิบัติในการรักษาโรคนี้ในขณะนั้นเช่นกัน
แม้ว่าเลนินอาจเป็นโรคซิฟิลิสเช่นเดียวกับคนรัสเซียจำนวนมากในขณะนั้น แต่เลนินก็ไม่มีอาการของโรคซิฟิลิสขั้นสุดท้ายที่แสดงให้เห็นบริเวณร่างกาย นักประวัติศาสตร์จำนวนมากจึงเห็นพ้องต้องกันว่า เลนินเสียชีวิตด้วยอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ซึ่งเกิดจากลูกกระสุนที่ฝังอยู่ในลำคอจากการลอบสังหาร
เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เลนินกราด" เพื่อเป็นเกียรติแก่เลนิน เมืองนี้ยังคงชื่อเลนินกราดไว้จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 จึงเปลี่ยนชื่อกลับเป็นเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
หลังจากที่เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งแรก เลนินได้เขียนงานหลายฉบับที่กำหนดแนวทางของรัฐบาล ที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดางานเหล่านี้ คือ พันธสัญญาของเลนิน ส่วนหนึ่งของงานชิ้นนี้ได้วิจารณ์สมาชิกระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์ เช่น ลีออน ทรอตสกี้ และโจเซฟ สตาลิน สำหรับสตาลิน ผู้ที่ได้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2465 เลนินกล่าวว่า เขามี “อำนาจล้นเหลือที่รวมอยู่ในมือของเขา” และแนะนำให้ “สหายจงคิดหาวิธีทำให้สตาลินพ้นจากตำแหน่งนั้น” ภรรยาของเลนินได้ค้นพบงานชิ้นนี้ในห้องทำงานของเลนิน และอ่านให้คณะกรรมการกลางของพรรคฟัง ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการฟัง เชื่อ แต่ไม่ได้ซึมซับคำพูดเหล่านี้เอาไว้ ทำให้การวิจารณ์ภายในพรรคครั้งนี้ ไม่ได้เปิดเผยออกมากว้างขวางนัก
ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 (ประมาณ พ.ศ. 2464พ.ศ. 2469) การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับลัทธิพลังจักรวาลในรัสเซียค่อนข้างเป็นที่นิยม ทำให้มีความพยายามที่จะแช่แข็งร่างของเลนินไว้ เพื่อจะทำให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาในอนาคต อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นได้รับการซื้อเข้ามาในรัสเซีย แต่ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้แผนนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยร่างของเลนินได้ถูกนำไปดอง และตั้งไว้ในอนุสาวรีย์เลนินในกรุงมอสโก
เลนินได้แสดงความปรารถนาก่อนเสียชีวิตไม่นานว่า ไม่ให้สร้างอนุสาวรีย์อะไรเพื่อระลึกถึงเขา แต่มีนักการเมืองบางคนต้องการยกสถานะตัวเอง โดยนำตนเองไปเกี่ยวข้องกับเลนินหลังจากที่เลนินเสียชีวิต และตัวตนของเลนินนั้นก็ถูกยกขึ้นไปเกือบเทียบเท่าบุคคลในตำนาน และมีอนุสาวรีย์มากมายที่สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนเขา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้าวลาดีมีร์ เลนินถัดไป
เริ่มตำแหน่ง2leftarrow.pngประธานสภาประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต
(30 ธันวาคม 1922 – 21 มกราคม 1924)
2rightarrow.pngอเล็กเซ ริกอฟ
รักษาการ
เริ่มตำแหน่ง2leftarrow.pngผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งรัสเซีย
(17 พฤศจิกายน 1903 – 21 มกราคม 1924)
2rightarrow.pngโจเซฟ สตาลิน
ในตำแหน่ง เลขาธิการใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น